สรุปรวมของขวัญปีใหม่ 64 จาก ประกันสังคม ปรับเพิ่ม-ลดค่าอะไรให้ผู้ประกันตนบ้าง จากสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ระบาดระลอกใหม่แบบนี้ อาจทำให้หลายคนกังวลทั้งเรื่องสุขภาพและการเงิน การส่งเงินสมทบ ประกันสังคม มาตรา 33 และ มาตรา 39 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 เป็นต้นไป ความคุ้มครองด้านไหนที่เราได้เพิ่ม และเงินสมทบถูกลงอย่างไร

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ว่าที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 แก่ผู้ประกันตนในระบบกองทุนประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้

ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800 บาท

จากเดิมที่ผู้ประกันตนในประกันสังคมมาตรา 33 และ 39 จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 600 บาท ในปีนี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นโดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ให้กับผู้ประกันตนที่มีบุตรอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี
  • มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มจาก 600 บาท เป็น 800 บาทต่อคน โดยจ่ายคราวละไม่เกิน 3 คน
  • มีผู้ประกันตนได้รับประโยชน์จำนวน 1.362 ล้านคน คิดเป็นเงิน 13,739 ล้านบาท/ปี ใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากเดิม 3,432 ล้านบาท
  • มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
  • สำหรับระยะการจ่ายเงินกรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรที่ปรับเพิ่มของงวดเดือนมกราคม 2564 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นไป
ประกันสังคม

ปรับลดเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตน

ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 64

ลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน

  • ตามมาตรา 33 จากเดิม 5% เหลือ 3% ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลส่งเงินสมทบเท่าเดิม คือ 2.75%
  • ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดอัตราเงินสมทบ จากเดิมเดือนละ 432 บาท เหลือ 278 บาท
  • กรณีประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และคลอดบุตร รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทน ฝ่ายละ 1.05%
  • กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ นายจ้างและผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบฝ่ายละ 1.85% รัฐบาลปรับเป็น 1.45%
  • กรณีว่างงาน นายจ้างและผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบฝ่ายละ 0.1%  รัฐบาลปรับเป็น 0.25%

ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 เป็นต้นไป

  • กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และคลอดบุตรรัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนฝ่ายละ 1.5%
  • กรณีสงเคราะห์บุตร และชราภาพ นายจ้างและผู้ประกันตน จ่ายฝ่ายละ 3% รัฐบาลจ่าย 1%
  • กรณีว่างงาน นายจ้างและผู้ประกันตน จ่ายฝ่ายละ 0.5% รัฐบาลจ่าย 0.25%

การลดอัตราเงินสมทบนี้ จะส่งผลดีต่อผู้ประกันตนและนายจ้าง ช่วยให้ผู้ประกันตนนำเงินไปใช้จ่ายเสริมสภาพคล่องได้ประมาณคนละ 460 – 900 บาท คิดเป็นมูลค่า 8,248 ล้านบาท และช่วยให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบลดลง 7,412 ล้านบาท

คาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิ จำนวน 700,727 ครั้ง ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย คิดรวมเป็นเงินกว่า 5,225 ล้านบาท

ปรับเพิ่มค่าคลอดบุตร เหมาจ่ายครั้งละ 15,000 บาท

จากเดิมผู้จ่ายประกันสังคมจะได้ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายครั้งละ 13,000 บาท ได้ปรับค่าคลอดบุตรใหม่สำหรับคนที่จ่ายประกันสังคม

  • ได้รับค่าคลอดบุตรครั้งละ 15,000 บาท ตั้งแต่ 1 ม.ค. 64 เป็นต้นไป
  • ปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์ 5 ครั้ง รวม 1,500 บาท
  • สำหรับค่าฝากครรภ์สำหรับผู้ประกันตนในประกันสังคม จากเดิมประกันสังคมจะจ่ายให้ 3 ครั้ง รวม 1,000 บาท แต่สำหรับอัตราใหม่ในปี 64 จะเพิ่มเงินและเพิ่มจำนวนครั้งให้ตามนี้เลย

ปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์

  • สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น 586.146 ล้านบาท ปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์ เป็น 5 ครั้ง รวมเป็น 1,500 บาท (เดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท)
  • คาดว่าจะมีผู้ประกันตนได้รับสิทธิประมาณ 122,114 ครั้ง/ปี เป็นเงิน 36.6 ล้านบาท สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น 17.89 ล้านบาท
  • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

ว่างงานจาก COVID-19

สำหรับเงินประกันสังคมว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย อันมาจากการล็อกดาวน์หรือผลกระทบจาก COVID-19 มีเงื่อนไขที่สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยได้ ใครที่ต้องหยุดหรือออกจากงานเนื่องจากการระบาดระลอกใหม่ ดูกันไว้ได้เลย!

  • เป็นการว่างงาน หรือไม่ได้ทำงานเนื่องจากผู้ประกอบการมีความจำเป็นต้องปิดพื้นที่ตามระยะเวลาที่รัฐกำหนด
  • ผู้ประกันสังคมสามารถยื่นขอรับเงินชดเชยได้ในอัตราร้อยละ 50 ของรายได้
  • จ่ายเงินตามระยะเวลาที่ถูดปิดพื้นที่ รวมกันไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน ก็คือสามารถรวมกันได้ใน 1 ปีกรณีว่างงานหลายครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม : สำนักงานประกันสังคม

Flowsapp.com