“ ยื่นภาษีออนไลน์ 2564 ” ปัจจุบันคนนิยม “ยื่นภาษีออนไลน์” มากกว่าเดินทางไปที่สำนักงานสรรพากร เนื่องจากสะดวกสบายและง่ายกว่ามาก ไม่ต้องเดินทางไปต่อคิวที่สำนักงานสรรพากร และสามารถยื่นเอกสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ยื่นได้ถึง 30 มิถุนายน 2564 นี้

ยื่นภาษีได้ที่ไหน

การยื่นภาษี ทำได้ 3 แห่ง ได้แก่
1. กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ไปยังสำนักงานสรรพากรทุกพื้นท่ี
2. กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วให้หน่วยงานบริษัทที่สังกัดยื่นให้
3. ยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง

วิธี ยื่นภาษีออนไลน์ 2564

ขั้นตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบด้วยกัน

  • ภ.ง.ด.90 ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผล
  • ภ.ง.ด.91 ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว

ข้อมูลที่ต้องใช้ยื่นภาษีเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด หากคุณรับรายได้จากบริษัททางเดียว ก็ใช้ใบทวิ 50 แต่หากมีรายได้หลายช่องทาง ก็ต้องเตรียมเอกสารแสดงการหักภาษีของหน่วยงานที่จ้างคุณไว้ เมื่อพร้อมแล้วมาดูวิธียื่นภาษีกันได้เลย

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนการยื่นภาษีมีอะไรบ้าง

  • เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง 
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี ได้แก่ ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบุตร
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน, เบี้ยประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, ช้อปดีมีคืน หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ

ขั้นตอนยื่นภาษี ปีภาษี 2563 ผ่านออนไลน์ด้วยตนเองนั้น มี 10 ขั้นตอน ดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร rdserver.rd.go.th

2. เลือก ภ.ง.ด.90/91 (สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนต้องลงทะเบียนยื่นภาษีก่อน)

กดสมัครสมาชิก เพื่อใช้เลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการยื่นภาษีต่อไป แต่หากลืมรหัสผ่าน เตรียมบัตรประชาชนขึ้นมาเพื่อกรอกข้อมูลสร้างรหัสผ่านใหม่ ลืมรหัสผ่านคลิกที่นี่  

ยื่นภาษีออนไลน์ 2564
ยื่นภาษีออนไลน์ 2564

3. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว กรอกข้อมูลส่วนบุคคล

ยื่นภาษีออนไลน์ 2564

4.  กรอกข้อมูลที่มาของเงินได้ และรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษี

5. เลือกประเภทเงินได้ และค่าลดหย่อนการเสียภาษี              

หลังจากใส่ข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว ก็กรอกข้อมูลแหล่งที่มาของเงินได้ ทั้งเงินเดือนและค่าจ้างต่างๆ รวมถึงข้อมูลค่าใช้จ่ายส่วนตัว ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ค่าเลี้ยงดูอุปการะบิดามารดา ฯลฯ เพื่อนำไปคำนวณภาษี       

แต่ถ้าใครมีรายได้อื่นๆ นอกจากเงินเดือนหรือโบนัส ก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายถูกลงไปให้ครบตามเงินได้แต่ละข้อ สามารถเช็กประเภทเงินได้ที่ https://www.rd.go.th/publish/556.0.html

ส่วนฝั่งขวาจะเป็นค่าลดหย่อนภาษี ซึ่งแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ลองสำรวจให้ดีว่าตัวเองมีอะไรบ้าง อย่างเช่น เงินสมทบประกันสังคม, เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, เบี้ยประกันชีวิต, วงเงินกองทุน SSF/RMF เป็นต้น

6. กรอกรายการเงินเดือนค่าจ้างบำนาญต่างๆ โดยเอามาจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ

7. บันทึกรายการค่าลดหย่อนที่เรามี กรอกใส่ทั้งหมด

8. ตรวจสอบข้อมูลการคำนวณภาษี โดยระบบของกรมสรรพากรจะคำนวณให้อัตโนมัติ

9. หากข้อมูลทุกอย่างถูกต้องให้ทำการยืนยันเพื่อยื่นแบบภาษี

10. กดยืนยันการจ่ายเงินหรือตรวจสอบการคืนภาษี และเลือกช่องทางทำธุรกรรมการเงินที่สะดวกที่สุด